วิตามินบี 12 ( Cobalamin )

 

วิตามินบี 12 ( Cobalamin ) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง

วิตามินบี 12 คืออะไร

วิตามินบี 12 ( Vitamin B12 ) หรือ Cobalamin คือ วิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก และมีโทษหากได้รับวิตามินบี 12 เข้าสู่ร่างกายมากเกินไปเช่นกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาอย่างละเอียดก่อนการรับประทาน

 

คุณสมบัติของวิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน

วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน เป็นผลึกสีแดงเข้ม วิตามินบี 12 สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ทนกรด ด่างและแสง โดยวิตตามินบี 12 มีสูตรโครงสร้างสลับซับซ้อนคล้ายกับเฮโมโกลบิน จะแตกต่างกันเพียง วิตามินบี 12 มี โคบอลท์ อยู่ที่ 1 อะตอม แต่เฮโมโกลบินมี ธาตุเหล็ก อยู่ ทั้งนี้วิตามินบี 12 จะแตกต่างจาก วิตามินบีตัวอื่นๆตรงที่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เองได้
วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในร่างกายจะมีหลายแบบ แต่จะเรียกรวมๆกัน ว่า “ โคบาลามิน ” สำหรับตัวที่มีฤทธิ์มากจะเป็นผลึกสีแดงเข้ม ส่วนตัวที่วางขายกันในท้องตลาดและมีฤทธิ์สูงกว่าในทางยา ก็คือ  “ ไฮดรอกโซโคบาลามิน ” ( Hydroxocobalamin )
บี 12 หรือ Cyanocobalamine เมื่อใช้ร่วมกับยา Chloramphenical จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาภาวะโรคโลหิตจางด้วย Cyanocobalamine ด้อยลงไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

 

วิตามินบี 12 ช่วยอะไร

วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในร่างกายจะอยู่ในรูปโคเอนไซม์ 2 ตัว คือ เมทิลโคบาลา – มิน ( Methylcobalamin ) และ 5 ดีออกซีแอดีโนซิล โคบาลามิน ( 5 – Deoxyadenosyl Cobalamin ) เพื่อทำหน้าที่คือ
1. วิตามินบี 12 ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบประสาทและทางเดินอาหาร
2. วิตามินบี 12 ช่วยในการเมแทบอซึมของ โฟลาซิน หรือวิตามินบี 9
3. วิตามินบี 12 ช่วยในการเมแทบอลิซึมของ โปรตีน ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต จึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเร็วขึ้นกว่าเดิม
4. วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในไขกระดูก วิตามินบี 12 จะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ DNA ( Deoxyribonucleic Acid ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงเกิดการแบ่งเซลล์เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติ
5. วิตามินบี 12 ช่วยให้ ธาตุเหล็ก ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง
6. วิตามินบี 12 ช่วยในการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการป้องกันการสะสมไขมันในตับ ( Lipotropic Factors )
7. วิตามินบี 12 ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก Underdeveloped และ Undernourished ซึ่งการให้วิตามินบี 12 จะเพิ่มความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารได้มาก แต่หากเป็นเด็กปกติที่ไม่ขาดวิตามินนี้ การให้วิตามินบี 12 จะไม่มีผลอะไร

 

วิตามินบี 12 มี อะไรบ้าง

วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าวิตามินประเภทอื่น จึงมีกลไกในการดูดซึมแบบพิเศษ โดยเริ่มจากวิตามินบี 12 เข้ามาที่กระเพาะ กรดเกลือจะแยกวิตามินบี 12 ออกมา แล้วไปจับกับ อินทรินสิกแฟคเตอร์  ( Intrinsic Factor ) ซึ่งเป็นมิวโค โปรตีน ที่สร้างจาก พารีเอทัลเซลล์ ( Parietal Cell ) ของกระเพาะ ที่เข้าใจว่าน่าจะทำหน้าที่ป้องกันวิตามินบี 12 ไม่ให้ถูกทำลายในลำไส้ก่อนการดูดซึม จากนั้นอินทรินสิกแฟคเตอร์จะพาวิตามินบี 12 มาที่ลำไส้เล็กตอนปลายและปล่อยวิตามินบี 12 เข้าผนังลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่กระแสโลหิต อีกที เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิต วิตามินบี12 จะรวมตัวกับโปรตีนขนส่ง “ ทรานส์โคบาลามิน ( Tramacobalamin ) ” เพื่อส่งวิตามินบี 12 ไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างการที่ต้องการ สำหรับอวัยวะที่มีวิตามินบี 12 มาก คือ ตับ ไต หัวใจ และสมอง ทั้งนี้ในร่างกายจะมีการเก็บสะสมวิตามินบี 12 เพียงเล็กน้อย นั่นคือคนปกติจะมีประมาณ 1-10 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 50 – 90 อยู่ที่ตับ แต่ถ้าขาดอินทรินสิกแฟคเตอร์ ร่างกายจะดูดซึมวิตามินบี 12 ไม่ได้ มีทางเดียวคือต้องให้วิตามินบี 12 ในปริมาณมาก แต่ยังไงร่างกายก็จะดูดซึมได้แค่ประมาณร้อยละ 1 แค่นั้นเอง ทั้งนี้วิตามินบี 12 จะถูกขับถ่ายทางน้ำได้ดี ส่วนทางปัสสาวะ เหงื่อ และทางน้ำนมจะถูกขับถ่ายออกมาได้ส่วนน้อย

 

วิตามินบี 12 หาได้จากที่ไหน

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 12 อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำพวก ตับ ไต หัวใจ ปลา และ นม ส่วนผัก ผลไม้จะไม่มีวิตามินบี 12 ส่วนในร่างกายคนเราก็สามารถสร้างวิตามินบี 12 ได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แต่ร่างกายไม่อาจดูดซึมเอาประโยชน์ของวิตามินบี 12 มาใช้ได้ เพราะการดูดซึมวิตามิน b12 ต้องอาศัยอินทรินสิกแฟคเตอร์ ที่หลั่งมาจากกระเพาะอาหารเท่านั้น ซึ่งอาจต้องรับประทานอาหารเสริมวิตามินบี 12 เพิ่ม เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินครบ
สำหรับสัตว์และพืชไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 12 เองได้ พวกสัตว์ต่างๆจะได้รับอาหารที่มีวิตามินบี 12 จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อจุลินทรีย์ปนอยู่ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่ทานอาหารมังสวิรัติ มักมีระดับวิตามินบี 12 ในเลือดต่ำกว่าปกติ อีกทั้งยังมีโอกาสขาดวิตามินบี 12 ได้ง่าย

 

ผลของการขาดวิตามินบี 12

ส่วนใหญ่สาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 ( Vitamin B12 ) มาจาก
1. การได้รับจากอาหารไม่พอ ทำให้เกิดการขาดขาดวิตามินบี 12 เช่น คนที่ทานอาหารมังสวิรัติ
2. คนที่มีความผิดปกติของการดูดซึม เช่น การขาด IF การเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออก หรือเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อมทำให้มีการดูดซึมผิดปกติและถ้าขาดวิตามินบี 12 ไขกระดูกจะไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงให้เจริญเต็มที่ได้ เม็ดเลือดแดงนี้ก็จะไม่ถูกแบ่งตัว จะมีลักษณะใหญ่ที่เรียกว่าเมกกะ โลบลาสท์ Megalobladst และจะถูกปล่อยเข้ามาสู่กระแสโลหิต ก็จะทำให้ความสามารถในการนำเฮโมโกลบินไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง เป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเซียสได้ง่าย ซึ่งโรคนี้จะมีอาการที่แสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ น้ำหนักลด  ผิวหนังมีสีเหลืองอ่อน คลื่นไส้ หายใจขัดข้อง ท้องอืด ลิ้นอักเสบ มีความผิดปกติของระบบประสาทและเดินไม่ตรงได้

 

เอกสารอ้างอิง“Vitamin B12”. Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University. 2014. Retrieved February 16, 2017.
Yamada, Kazuhiro (2013). “Chapter 9. Cobalt: Its Role in Health and Disease”. In Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland K. O. Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. 13. Springer. pp. 295–320.
Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)