โรคกระดูกพรุน
เกิดจากความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูกที่ลดน้อยลง หรือสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเปราะบาง ซึ่งอาจไม่
สามารถรับน้ำหนักได้หรืออาจหักได้ ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่คนมักไม่รู้ตัว หรือ ภัยเงียบ จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเกิดการหกล้ม หรือ กระดูกหัก
โดยโรคกระดูกพรุนนั้นบ่งบอกความชรา โดยเมื่ออายุมากขึ้นโอกาสเป็นเกิดภาวะกระดูกพรุนก็มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อกระดูกบาง
อาจถึงระดับที่ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะทำกิจวัตรประจำวัน หรืออาจไปถึงอุบัติเหตุหกล้มได้
โดยการเกิดนั้นอาจดูเล็กน้อยก็ตาม กระดูกที่มักจะหัก ได้แก่ กระดูกต้นขา และกระดูกข้อมือ
ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก
หรือแรงกดได้ลดลงโดยผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนนั้นมีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงแค่มีแรงกระแทกเบา ๆ
การลื่นล้ม ก็สามารถทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังนั้นเกิดการหักได้ ก่อให้เกิดความเจ็บหรือพิการตามมา
อันตรายจากโรคกระดูกพรุน
1.ความเจ็บปวด
การขยับตัวหรือใช้ชีวิตลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
2.กระดูกหัก
อาจเกิดปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติ หรือ ไม่สามารถในการกลับมาเดินได้ เป็นภาระคนที่บ้าน ลูกหลาน
3.หลังโก่ง
เดินไม่ปกติ หลังโก่งคดงอ เดินลำบาก
4.ต้องผ่าตัด
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องถึงขั้นผ่าตัด เพื่อใส่เหล็กที่กระดูกต้นขาใหม่แทนส่วนที่หัก บางคนไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด
อาจเป็นเพราะมีโรคประจำตัวที่ทำให้มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูงขึ้น หรือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่ง ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักไม่สามารถเดินได้อีกต่อไป
แคลเซี่ยมกับกระดูกพรุน
แคลเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุส่วนหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย แคลเซียมในร่างกายใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้แก่มวลกระดูก
ทำให้กระดูกนั้นมีความแข็งแรง แคลเซี่ยมไม่พอเสี่ยงต่อกระดูกพรุน โดยหากได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพอต่อนั้น ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้
เมื่อเกิดขึ้นบ่อยแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุน และ เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง
สิ่งที่หลีกเลี่ยงหรือควรงด
1.หลีกเลี่ยงการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากจนเกินไป เนื่องจากการรับประทานโปรตีนจำนวนมากและทานแคลเซียมไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมได้
2.หลีกเลี่ยงหรืองดรับประทานอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น
และขับแคลเซียมตามออกตามมาด้วย จึงจะทำให้การสูญเสียแคลเซียม
3.หลีกเลี่ยงหรืองดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
4.หลีกเลี่ยงหรือควรงดเครื่องดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากมีส่วนผสมของฟอสฟอรัสสูง ตัวฟอสฟอรัสนั้นจะทำการรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย
ทำให้เสียสมดุล จนทำให้ร่างกายไม่สามารถนำแคลเซียมลดลง ใช้ไม่ได้ตามปกติ
5.หลีกเลี่ยงหรืองดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์นั้นขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกาย
การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจะทำให้ปริมาณแคลเซียมลดต่ำลง
แหล่งอาหารเสริมสร้างแคลเซี่ยม
1.นม หรือ ผลิตภัณฑ์นม เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมที่สูงและร่างกายสามารถนำไปใช้ได้มาก นม 1 กล่อง (250 ซีซี) ให้แคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม
ฉะนั้นการดื่มนม โดยเฉพาะนมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำ วันละประมาณ 2 กล่อง จะได้แคลเซียมถึง 2 ใน 3 ที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน
2.ปลาและสัตว์เล็กอื่น ๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูกหรือเปลือก เช่น ปลาซิว ปลาเกร็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งฝอย กุ้งแห้ง ฯลฯ
3.ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของแคลเซียม
4.ผักใบเขียว ผักที่มีแคลเซียมสูง ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้มาก
5.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรครบถ้วน เป็นอาหารเสริมที่มีสารอาหาร ครบทั้ง 5 หมวดหมู่ อยู่ในรูปแบบชนิดผง สามารถชงทานได้ง่าย มีการคำนวณปริมาณสารอาหารที่ สมดุล ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเกลือแร่
ที่จำเป็นและปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถชงดื่มเสริมมื้ออาหารหรือสามารถทานแทนอาหารได้สำหรับผู้ที่ไม่อยากอาหาร หรือ ไม่สามารถทานอาหารได้
อย่าง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมสูตรครบถ้วน Colosure (โคลอชัวร์) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรครบถ้วน ไขมันต่ำ ไม่เติมน้ำตาล มีแคลเซียมสูง ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
ซึ่งเหมาะกับการทานเสริมสร้าง และ ป้องกันการขาดแคลเซี่ยม ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : International Hospital ,Nonthaveg Hospital